เมนู

เพื่อต้องการถอนมานะ 9 อย่าง อันเป็นไปแล้ว ว่าเรามีดังนี้. บทว่า อเนก-
ธาตุปฏิเวธาย
ความว่า เพื่อต้องการแทงตลอดธาตุ มีอย่างมิใช่น้อย. บทว่า
สโตว อภิกฺกมติ ความว่า เมื่อจะเดินก็เป็นผู้ประกอบไปด้วยสติปัญญา
เดินไป. บทว่า สโตว ปฏิกฺกมติ ความว่า เมื่อจะถอยกลับ ก็ประกอบ
ไปด้วยสติปัญญา ถอยกลับ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สติสมฺปชญฺญาย ความว่า ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความ
ระลึกได้ และความรู้ ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติและญาณ
คละกันไป ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอุทายีสูตรที่ 9

10. อนุตตริยสูตร


ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม 6


[301] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ 6 ประการนี้ 6 ประการ
เป็นไฉน คือ ทัสสนานุตริยะ 1 สวนานุตริยะ 1 ลาภานุตริยะ 1
สิกขานุตริยะ 1 ปาริจริยานุตริยะ 1 อนุสตานุตริยะ 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตริยะเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง
ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็น
กิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ

เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ
เลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยม
กว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ
ก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ
บรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล
ผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่าทัสสนานุตริยะ.
ทัสสนานุตริยะเป็นดังนี้.
ก็สวนานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง
หรือเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า
การฟังนี้นั้นเป็นกิจแล้ว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรม
ของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของ
พระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ
เป็นดังนี้.
ก็ลาภานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง

น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็น
ของเลว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือ
สาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า ลาภานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะเป็น
ดังนี้.
ก็สิกขานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง
หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมี
ศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคต
ประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรม
วินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ
สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็ปาริจริยานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุง
คนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายการบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการ
บำรุงที่เลว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของ
พระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย. ย่อมเป็นไปเพื่อความ
บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ
เลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า
ปาริจริยานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ
ปาริจริยานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็อนุสตานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้
มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระ-
ตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น

มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ
6 ประการนี้แล.
ภิกษุเหล่าใดได้ ทัสสนานุตริยะ
สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ ยินดีใน
สิกขานุตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง เจริญ
อนุสติที่ประกอบด้วยวิเวกเป็นแดนเกษม
ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประ-
มาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับ-
ทุกข์ โดยกาลอันควร.

จบอนุตตริยสูตรที่ 10
จบอนุตตริยวรรคที่ 3

อรรถกถาอนุตตริยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุจฺจาวจํ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง (ไปเพื่อฟัง) เสียง
ใหญ่น้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ. บทว่า หีนํ แปลว่า
เลว. บทว่า คมฺมํ ความว่า เป็นการดูของชาวบ้าน. บทว่า โปถุชฺชนิกานํ
ความว่า เป็นของมีอยู่แห่งปุถุชน. บทว่า อนริยํ ความว่า ไม่ประเสริฐ
คือไม่สูงสุด ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์. บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ ความว่า ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์.